4 ยุทธการ คลายร้อน ให้น้องหมาตัวโปรด
บทความโดย : น.สพ.ธานินทร์ สันติวัฒนธรรม
เรียบเรียงโดย : น.สพ.ชูศักดิ์ เชาวน์วิวัฒน์
สถานพยาบาลปฏิญญาสัตวแพทย์ 081-739-0937 (09.00-19.00น.)
เมื่อสุนัขตัวร้อนเราจะทำยังไงกันบ้าง
พูดถึงสุนัขตัวร้อนแล้ว หลายท่านอาจบอกว่าไม่เป็นไร เดี๊ยวไปกินหญ้า กินตะไคร้ก็หาย จริง ๆแล้ว
ไม่เป็นอย่างนั้นเพราะสุนัขตัวร้อนอาจป่วยลุกลามรุนแรงขึ้นได้ เช่น เป็น โรคตับอักเสบ ปอดบวม เป็นต้น
หลายท่านอาจจะสงสัยว่าอุณหภูมิของสุนัขปกติเท่าไหร่ เหมือนกับคนหรือไม่ อุณหภูมิของสุนัขนั้น
อยู่ที่ 100.5-102.5?องศาฟาเรนไฮท์ ซึ่งสูงกว่าของคนเล็กน้อย(98.6 องศาฟาเร็นไฮท์) ถ้าสุนัข
มีอุณหภูมิ 103 องศาฟาเร็นไฮท์ ขึ้นไปแสดงว่ามีไข้แล้ว ถ้าตัวร้อนมากขึ้น อันตรายต่อสุนัขก็มีเพิ่มขึ้น
เป็นเงาตามตัว
อุณหภูมิ?(ฟาเรนไฮท์) | อันตรายที่มีต่อสุนัข |
100.5-102.5 | ปกติดี |
103 | ไข้ปานกลาง |
104 | ไข้สูง |
105 | ไข้สูงมาก |
106 | อันตรายโคม่า |
107 | สมองถูกทำลาย |
108.5 | ตายแน่ |
(ตั้งแต่ 103 ขึ้นไป ต้องพาไปหาหมอ)
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสุนัขมีไข้
จากที่บอกแสดงว่าอุณหภูมิปกติของสุนัขนั้นสูงกว่าคน ดังนั้นเวลาเราเอามือไปจับตามหัวตามตัวและ
บริเวณใต้ท้องบริเวณขาหนีบนั้นเราจะรู้สึกร้อนเนื่องจากเราตัวเย็นกว่าสุนัข ทางที่ดีควรใช้ปรอทวัดไข้
จะดีที่สุด แต่จะต้องวัดด้วยวิธีพิเศษ การวัดไข้สุนัขนั้นจะวัดผ่านทางทวารหนักหรือวัดที่ก้นนั่นเอง
ปรอทวัดไข้ของสุนัขโดยเฉพาะนั้น เมืองไทยไม่มีขาย แต่ขอแนะนำให้ใช้ปรอทวัดไข้ของเด็กแทน
เนื่องจากมีขนาดเล็กและรูปร่างค่อนข้างกลม
วิธีวัดไข้สุนัขทำได้ง่ายๆดังนี้
1. สลัดปรอทวัดไข้ให้ปรอทอยู่ข้างในลดระดับลงต่ำที่สุด สลัดซัก 2-3 ครั้ง ระวังอย่าให้ปรอทหลุดมือไป
2. ใช้มือจับหางสุนัขยกขึ้นแล้วเสียบปรอทเข้าไปในรูทวารหนักประมาณ 1-1.5 นิ้ว ทิ้งไว้ประมาณ 2 นาทีแล้วชักออก
3. ใช้กระดาษทิชชู่หรือสำลีเช็ดคราบอุจจาระออกแล้วอ่านอุณหภูมิ ถ้าเกิน 103 องศาฟาเร็นไฮท์ ควรนำส่งสัตวแพทย์
ถ้าหากสุนัขมีอุณหภูมิสูงไม่มาก เรามี 4 ยุทธการในการดับพิษร้อน ถอนพิษไข้สุนัขตัวโปรดดังนี้
ยุทธการที่ 1 : เช็ดตัวลดไข้
ใช้ผ้าชุบน้ำเย็น บิดพอสุนัขดๆ เช็ดตามตัวสุนัขโดยเฉพาะตามท้องสุนัข ทำทุกๆ 2-3 ชั่วโมงจนไข้ลด
วัดความร้อนด้วยปรอททางทวารหนัก
ยุทธการที่ 2 : ห่อหุ้มด้วยผ้าเย็น
ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำเย็น ห่อหุ้มตัวไว้ สุนัขส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายตัวขึ้นระวังอย่าใช้พัดลมโกรก เพราะจะทำให้ปอดบวมได้
ห่อหุ้มด้วยผ้าเย็น และเช็ดตัวด้วยน้ำเย็นบ่อยๆ
ยุทธการที่ 3 : เติมน้ำกินอย่าให้พร่อง
สุนัขมีไข้จะมีความเสี่ยงต่อการขาดน้ำง่าย จึงจำเป็นต้องเตรียมน้ำกินให้พร้อม บางครั้งอาจจะให้กินน้ำแข็งก้อนก็ได้ ซึ่งสุนัขบางตัวก้ชอบกินน้ำแข็ง
เติมน้ำดื่มให้สุนัขเต็มตอดเวลา อย่าให้ขาด
ยุทธการที่ 4 : กินยาลดไข้
ถ้าท่านลองมา 3 ยุทธการแรกแล้ว ยังไม่สามารถดับพิษร้อน ถอนพาไข้ให้สุนัขของท่านได้แล้วล่ะก็
กรณีนี้อาจจะต้องให้ยาลดไข้?แต่ขอแนะนำให้ปรึกษาสัตวแพทย์ก่อนให้ยาเป็นดีที่สุด ไม่ควรกินยา
ลดไข้จำนวนมาก หรือ ต่อเนื่องเกิน 3 วัน โดยเฉพาะแมวเป็นสัตว์แพ้ พาราเซตามอลกินแล้วถึงตาย
ทางที่ดีปรึกษาคุณหมอดีที่สุด
วิธีสุดท้ายต้องทานยาแก้ไข้ โดยปรึกษากับสัตวแพทย์ทุกๆครั้ง
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.udclick.com/home1/index.php?option=com_content&task=view&id=70293&Itemid=134021