ภาวะสุนัขคลอดยาก (Dystocia)
Picture 1: สุนัขพันธุ์ Bulldog ที่ตั้งท้องมีปัญหาเรื่องการคลอดยาก
สุนัขพันธุ์เล็ก มักจะค่อนข้างกระสับกระส่ายและขี้กลัวทำให้ไม่ยอมเบ่งและมีปัญหามดลูกเฉื่อย
ตามมานอกจากนี้ส่วนมากสุนัขตัวเล็กมักจะมีลูกเพียงแค่ 1 ตัวทำให้ลูกมีขนาดค่อนข้างใหญ่กว่าปกติ
สุนัขพันธุ์ใหญ่ ส่วนมากมักไม่ค่อยมีปัญหาการคลอดยาก อย่างไรก็ดีสุนัขพันธุ์ใหญ่มักจะมีจำนวน
ลูกค่อนข้างเยอะ ทำให้มักมีปัญหามดลูกล้าจากการที่ต้องเบ่งคลอดเป็นเวลานานได้
สาเหตุ :
* แม่สุนัขมีช่องเชิงกรานแคบกว่าปกติ อาจเป็นแต่กำเนิด หรือ เกิดเพราะกระดูกเชิงกรานเคยหัก
เนื่องจากประสบอุบัติเหตุ
* มดลูก ไม่มีการบีบตัว ทำให้ไม่มีการเบ่งคลอด อาจเกิดจากสุนัขมีความเครียดเลยไม่ยอดเบ่งคลอด
หรือในสุนัขที่มีลูกเยอะทำให้หมดแรงเบ่งคลอดในลูกตัวท้ายๆ การที่มีการอุดตันในระบบสืบพันธุ์ทำให้
เบ่งคลอดไม่ออกจะทำให้มีภาวะมดลูกล้า ตามมา บางครั้งมดลูกอาจจะล้าหรือเฉื่อยโดยไม่ทราบสาเหตุ
* แม่สุนัขมีช่องคลอดเล็กกว่าปกติ หรือมีการตีบตันในส่วนของช่องคลอด
* ลูกสุนัขมีขนาดใหญ่กว่าปกติ อาจเกิดเนื่องจากพ่อสุนัขมีขนาดใหญ่กว่าแม่สุนัขมาก
* ลูกสุนัขมีกะโหลกใหญ่ หรือมีไหล่กว้างกว่าปกติ หรืออยู่ในท่าคลอดที่ผิดปกติ
สายพันธุ์ที่พบบ่อยและปัจจัยโน้มนำ : กลุ่มสุนัขหน้าสั้น (Bulldogs, Pugs, Boston Terriers,
Sealyham Terrier, Scottish Terriers) มักมีปัญหาช่องเชิงกรานแคบ และลูกสุนัขมักมีกะโหลกใหญ่
และไหล่กว้าง
อาการและความรุนแรงของโรค : เมื่อสุนัขมีอาการดังต่อไปนี้ ถือว่าสุนัขมีปัญหาการคลอดยากแล้ว
* ในกรณีที่แม่สุนัขเบ่งคลอดติดต่อกันเป็นเวลานานกว่า 30-60 นาที โดยไม่มีลูกออกมา
* หลังจากที่มีลูกออกมาแล้ว 4-6 ชั่วโมงแล้วยังไม่มีลูกออกมาเพิ่มเติมอีก
* สุนัขไม่มีลูกออกมาเลยภายใน 24 ถึง 36 ชั่วโมง หลังจากที่อุณหภูมิเริ่มลดต่ำกว่า 100 องศาฟาเรนไฮต์
* สุนัขมีอาการส่งเสียงร้อง และเลียหรือกัดบริเวณอวัยวะเพศ ระหว่างที่กำลังคลอดลูก
* สุนัข มีการตั้งท้องนานกว่า 70-72 วันนับจากวันที่ผสมพันธุ์ครั้งแรก หรือเกินกว่า 60 วันนับจากวันแรก
ที่เริ่มเข้าสู่ระยะ diestrus (พ้นระยะการเป็นสัด)
การตรวจวินิจฉัยโรค :
* ดูจากประวัติและอาการประกอบ ร่วมกับการถ่ายภาพรังสีหรืออัลตร้าซาวน์
* การเอ็กซเรย์ (การถ่ายภาพรังสี) จะมีส่วนช่วยบอกจำนวนของลูก ถ้ามีลูกจำนวนมากโอกาสคลอดยาก
ค่อนข้างสูง ถ้าเป็นการการเอ็กซเรย์ ในช่วงใกล้คลอดจะบอกขนาดของลูก เปรียบเทียบกับขนาดของ
เชิงกรานของแม่ และบอกท่าการคลอดของลูก เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการคลอดเอง
Picture 2: ภาพถ่ายรังสีสุนัขตั้งท้อง พบกระดูกลูกมีขนาดใหญ่จนเป็นสาเหตุให้คลอดยาก
* Ultrasound การอัลตร้าซาวนด์ ดูการเต้นของหัวใจลูกเพื่อประเมินว่าลูกยังมีชีวิตอยู่หรือไม่
Picture 3: การอัลตร้าซาวนด์ เพื่อดูการเคลื่อนไหวและการเต้นของหัวใจของลูกในท้อง
การรักษาโรค :
- ในกรณีที่ลูกตายแล้ว ต้องผ่าคลอดเพื่อช่วยชีวิตแม่
- ในกรณีที่สัตวแพทย์ประเมินแล้วลูกสัตว์อาจเป็นอันตราย หรือไม่สามารถคลอดเองได้เนื่องจากลูก
มีขนาดใหญ่หรืออยู่ผิดท่า หรือช่องเชิงกรานแม่สุนัขแคบ จำเป็นต้องผ่าตัดเพื่อความปลอดภัยของ
ทั้งแม่และลูกสุนัข
- ในกรณีที่สัตวแพทย์ประเมินแล้วว่าแม่สัตว์มีปัญหามดลูกล้า โดยที่ไม่ได้มีสาเหตุเนื่องมาจากการ
อุดตัน และดูแล้วว่ายังอยู่ในระดับที่ยังไม่เป็นอันตรายอาจให้ยาช่วยเพิ่มการบีบตัวของมดลูก
ภายใต้การดูแลและคอยสังเกตอาการ
Picture 4 : การผ่าคลอดเพื่อช่วยชีวิตลูกและแม่สุนัข
Picture 5 : การช่วยดูดน้ำคร่ำเพื่อให้ลูกสุนัขหายใจได้
Picture 6: การผูกสายสะดือลูกสุนัข
Picture 7: ลูกสุนัขกำลังดูดนมแม่
ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก :
http://www.chihuahuacity.net/bbs/viewthread.php?tid=4069&extra=page%3D1